ขั้นตอนการใช้งานโปรแกรม TMT Connect

1. สมัครสมาชิก

1.1 เข้าสู่เว็บไซต์ http://tmt.this.or.th:8081/

1.2 คลิกที่ปุ่ม “Register” ดังรูปที่ 1

ระบบจะนำท่านไปสู่หน้าจอสำหรับกรอกข้อมูลเพื่อสมัครสมาชิก

รูปที่ 1 แสดงหน้าแรกของเว็บไซต์

 1.3 กรอกข้อมูลส่วนตัวเพื่อสมัครสมาชิก ตามหัวข้อดังรูปที่ 2

* บังคับกรอกข้อมูลทุกช่องที่มี *

**หัวข้อ “สถานที่ทำงาน” ระบุสถานที่ทำงานที่ท่านสังกัดอยู่ โดยเขียนชื่อหน่วยงานตามที่ระบุในใบอนุญาตที่ทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาออกให้ (กรณีมีใบอนุญาต)

1.4 คลิกที่ข้อความ “ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม” เพื่อดาวน์โหลดแบบฟอร์มใบสมัครขอใช้ระบบสารสนเทศเพื่อการพัฒนาทะเบียนบัญชีข้อมูลยาและรหัสยามาตรฐานไทย (TMT) ซึ่งอยู่ในรูปแบบไฟล์ pdf

1.5 อ่านรายละเอียดในใบสมัครฯ และกรอกข้อมูลลงในแบบฟอร์มให้ครบถ้วน ลงชื่อพร้อมระบุตำแหน่งของผู้สมัคร จากนั้นให้หัวหน้างาน เช่น ผู้จัดการแผนก, หัวหน้าฝ่าย ฯลฯ ลงชื่อรับรองการมอบหมายให้ผู้สมัครเป็นผู้แทนของโรงพยาบาล/บริษัทยาในการดูแลข้อมูลรหัส TMT ของหน่วยงาน

1.6 สแกนเอกสารตามรายละเอียดด้านล่างต่อกันเป็นไฟล์เดียว

1) แบบฟอร์มใบสมัครฯ ที่กรอกข้อมูลเรียบร้อยแล้ว

2) ใบอนุญาตผลิต/นำเข้าของบริษัทที่ทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาออกให้ (กรณีบริษัทยา) 

1.7 อัพโหลดไฟล์เอกสารดังข้อ 1.6 ที่หัวข้อ “แนบเอกสาร” จากนั้นคลิกปุ่ม “บันทึก

1.8 อ่านรายละเอียดข้อตกลงการใช้บริการระบบสารสนเทศเพื่อการพัฒนาทะเบียนบัญชีข้อมูลยาและรหัสยามาตรฐานไทย (TMT) ดังรูปที่ 3 จากนั้นคลิกยอมรับข้อกำหนดและเงื่อนไข และคลิกปุ่ม “Agree

1.9 หน้าจอแสดงข้อความ “ลงทะเบียนสำเร็จ

1.10 เปิดอีเมลที่ท่านใช้ในการสมัครใช้งานเว็บไซต์ จากนั้นคลิกที่ลิงค์เพื่อยืนยันความถูกต้องของอีเมล

1.11 รอเจ้าหน้าที่ตรวจสอบข้อมูล และอนุมัติสิทธิ์การเป็นสมาชิกภายใน 3 วันทำการ

*หมายเหตุ ท่านจะสามารถเข้าใช้งานโปรแกรม TMT Connect ได้เมื่อเจ้าหน้าที่อนุมัติสิทธิ์แล้วเท่านั้น


2. ขอสร้างรหัส TMT ใหม่สำหรับบริษัทยา

2.1 เข้าเว็บไซต์ http://tmt.this.or.th:8081/

2.2 เข้าสู่ระบบด้วย Username และ Password ที่สมัครไว้

รูปที่ 5 แสดงหน้าเว็บไซต์สำหรับ Login เข้าสู่ระบบ

2.3 คลิกที่เมนู “ขอสร้างใหม่” (ดังรูปที่ 6)

ระบบจะนำท่านไปสู่หน้าจอหลักของการขอสร้างรหัส TMT ใหม่ดังรูปที่ 7 โดยในหน้านี้จะแสดงรายการคำขอสร้างรหัส TMT ทั้งหมดตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันของท่าน และแสดงสถานะปัจจุบันของคำขอแต่ละรายการ 

นอกจากนี้ท่านยังสามารถเลือกดูเฉพาะรายการคำขอที่สนใจได้ตามรายละเอียดดังนี้

  • ติ๊กเลือกหัวข้อ “แสดงเฉพาะที่ยังไม่มี TMTID” หมายถึง การแสดงเฉพาะคำขอที่ยังไม่มีรหัส TMT
  • ติ๊กเลือกหัวข้อ “แสดงรายการที่ยกเลิก” หมายถึง การแสดงรายการคำขอทั้งหมด รวมถึงรายการคำขอที่ท่านกดยกเลิกไปแล้วด้วย
  • ติ๊กเลือกหัวข้อ “แสดงรายการที่ส่งกลับให้แก้ไข” หมายถึง การแสดงรายการคำขอทั้งหมด รวมถึงรายการคำขอที่เจ้าหน้าที่ส่งกลับให้บริษัทแก้ไขข้อมูลด้วย

a รหัส TPU ของผลิตภัณฑ์ยาที่มีรหัสแล้ว (TPUID)

b ชื่อการค้า (trade name)

c ตัวยาสำคัญและความแรง

d รูปแบบยา (dosage form)

e ปุ่ม “ขอสร้าง” เมื่อคลิกแล้วจะเข้าสู่หน้าจอการกรอกข้อมูลสำหรับสร้างคำขอรายการใหม่

f ปริมาณบรรจุของยาต่อหน่วยย่อยที่สุดในการจ่ายยา

g หน่วยย่อยที่สุดในการจ่ายยา

h ชื่อผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ยา

i ชื่อผู้สร้างคำขอ

j ชื่อผู้แก้ไขคำขอล่าสุด

k สถานะคำขอ แบ่งออกเป็น 7 สถานะ ดังนี้

ตารางที่ 1 แสดงความหมายของสถานะคำขอแต่ละรายการ

สถานะความหมาย
ยังไม่ส่งคำขอคำขอที่มีการกรอกข้อมูล แต่ยังไม่ได้ส่งให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบ
รอตรวจสอบคำขอที่รอเจ้าหน้าที่ตรวจสอบข้อมูล หมายเหตุ: เจ้าหน้าที่จะดำเนินการตรวจสอบข้อมูลภายใน 2-3 สัปดาห์ โดยเมื่อเจ้าหน้าที่ตรวจสอบเรียบร้อยแล้วสถานะจะเปลี่ยนเป็น “รอแก้ไข” หรือ “รออนุมัติ”
รอแก้ไขคำขอที่เจ้าหน้าที่ส่งกลับมาให้ท่านแก้ไขข้อมูล โดยท่านสามารถตรวจสอบรายละเอียดที่ต้องแก้ไข โดยคลิกที่ปุ่ม    (l) ของรายการคำขอที่ท่านต้องการตรวจสอบ จากนั้นคลิกที่ปุ่ม“สนทนา
รออนุมัติคำขอที่ผ่านการตรวจสอบเบื้องต้นแล้ว และรอการอนุมัติ
ส่งสร้าง TMTคำขอที่ได้รับการอนุมัติแล้ว และกำลังดำเนินการสร้างรหัส TMT
สร้างสำเร็จคำขอที่ได้รับรหัส TMT เรียบร้อยแล้ว โดยจะแสดงรหัส TPU ที่ได้รับในคอลัมน์ TPUID (a)
ยกเลิกคำขอที่ท่านกดยกเลิกคำขอ

2.4 คลิกที่ปุ่ม “ขอสร้าง (e) (ดังรูปที่ 7) เพื่อสร้างคำขอรหัส TMT รายการใหม่

2.5 กรอกข้อมูลของผลิตภัณฑ์ที่ต้องการขอรหัส TMT ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลทั้งหมด 6 ส่วน ดังนี้

* บังคับกรอกข้อมูลทุกช่องที่มี *

** กรณีต้องการคำอธิบายเกี่ยวกับคำศัพท์ด้านยาเพิ่มเติม สามารถคลิกปุ่ม “คำอธิบาย

ส่วนที่ 1 ข้อมูลยา

1) หัวข้อ ประเภทผลิตภัณฑ์ 

คลิกเลือกประเภทของผลิตภัณฑ์ที่ต้องการขอรหัส TMT ตามตัวเลือกดังนี้

  • Commercial Product หมายถึง ยาที่มีจำหน่ายตามท้องตลาด (ยาที่ผลิตโดยบริษัทยา)
  • Hospital Pharmaceutical Product หมายถึง ยาที่โรงพยาบาลเป็นผู้ผลิตเองแต่ไม่ได้จำหน่าย
  • Outsourced Hospital Pharmaceutical Product หมายถึง ยาที่โรงพยาบาลเป็นผู้ผลิตเองและมีการจำหน่าย
  • Modified Pharmaceutical Product หมายถึง ยาที่โรงพยาบาลทำการเปลี่ยนรูปแบบยา

2) หัวข้อชื่อยาทางการค้า

กรอกชื่อการค้าของผลิตภัณฑ์ยา (trade name) เป็นภาษาอังกฤษและภาษาไทย โดยไม่มีรูปแบบยาและความแรง ยกเว้นความแรงเป็นส่วนหนึ่งของชื่อการค้าตามที่ขึ้นทะเบียนไว้กับทางอย. กล่าวคือ จะมีตัวเลขในข้อมูลส่วนนี้เมื่อตัวเลขนั้นเป็นส่วนหนึ่งของชื่อการค้า

2.1 หัวข้อ ข้อมูลตัวยาสำคัญ 

เลือก “ยาเดี่ยว” เมื่อผลิตภัณฑ์ยามีตัวยาสำคัญ 1 ตัวยา   หรือ 

        “ยาผสม” เมื่อผลิตภัณฑ์ยามีตัวยาสำคัญมากกว่า 1 ตัว

a. หากเลือก ยาเดี่ยว

– หัวข้อ ตัวยาสำคัญ: กรอกชื่อสามัญทางยา (generic name) ตามมาตรฐาน INN Name เป็นภาษาอังกฤษและภาษาไทย โดยท่านสามารถค้นหาวิธีการเขียนชื่อสามัญทางยาตามมาตรฐาน INN Name ได้จาก https://mednet-communities.net/inn/

– หัวข้อ ความแรง: กรอกค่าความแรงของตัวยาสำคัญเป็นตัวเลข

– หัวข้อ หน่วยความแรง: เลือกหน่วยของความแรง

– หัวข้อ ตัวหารความแรง: กรอกค่าตัวหารความแรงยา (strength denominator) เป็นตัวเลข เช่น ความแรง 2 mg/5 mL ค่าในช่องนี้คือ “5” ในบางกรณีจะไม่มีค่าข้อมูลนี้ เช่น กรณียาเม็ด เป็นต้น

– หัวข้อ หน่วยตัวหารความแรง: เลือกหน่วยของตัวหารความแรง (strength denominator unit) เช่น ความแรง 2 mg/5 mL ค่าในช่องนี้คือ “mL” ในบางกรณีจะไม่มีค่าข้อมูลนี้ เช่น กรณียาเม็ด เป็นต้น

รูปที่ 9 แสดงรายละเอียดที่ต้องกรอกในหัวข้อข้อมูลตัวยาสำคัญเมื่อเลือกยาเดี่ยว

b.

  1. หากเลือก ยาผสม

ต้องดำเนินการบันทึกข้อมูลตัวยาสำคัญครั้งละ 1 ตัวยาตามรายละเอียดดังนี้

– หัวข้อ ตัวยาสำคัญ: กรอกชื่อสามัญทางยา (generic name) ตามมาตรฐาน INN Name เป็นภาษาอังกฤษและภาษาไทย โดยท่านสามารถค้นหาวิธีการเขียนชื่อสามัญทางยาตามมาตรฐาน INN Name ได้จาก https://mednet-communities.net/inn/

– หัวข้อ ความแรง: กรอกค่าความแรงของตัวยาสำคัญเป็นตัวเลข

– หัวข้อ หน่วยความแรง: เลือกหน่วยของความแรง

– หัวข้อ ตัวหารความแรง: กรอกค่าตัวหารความแรงยา (strength denominator) เป็นตัวเลข เช่น ความแรง 2 mg/5 mL ค่าในช่องนี้คือ “5” ในบางกรณีจะไม่มีค่าข้อมูลนี้ เช่น กรณียาเม็ด เป็นต้น

– หัวข้อ หน่วยตัวหารความแรง: เลือกหน่วยของตัวหารความแรง (strength denominator unit) เช่น ความแรง 2 mg/5 mL ค่าในช่องนี้คือ “mL” ในบางกรณีจะไม่มีค่าข้อมูลนี้ เช่น กรณียาเม็ด เป็นต้น

คลิกที่ปุ่ม “เพิ่ม” เพื่อบันทึกข้อมูลตัวยาสำคัญ

จากนั้นกรอกและบันทึกข้อมูลตัวยาสำคัญของผลิตภัณฑ์ยาจนครบทุกตัวยา

4) หัวข้อ รูปแบบยา

คลิกเลือกรูปแบบของยา (Dosage form) โดยอ้างอิงตามมาตรฐานของ EDQM เช่น film-coated tablet, powder for concentrate for solution for infusion, cutaneous solution เป็นต้น โดยท่านสามารถค้นหารูปแบบของยา (Dosage form) ตามมาตรฐาน EDQM ได้จาก https://standardterms.edqm.eu/ นอกจากนี้ท่านสามารถตรวจสอบตัวอย่างรูปแบบของยา (Dosage form) ตามมาตรฐาน EDQM ได้ที่ภาคผนวกที่ 1 ตารางแสดงตัวอย่างรูปแบบของยา (Dosage form) ตามมาตรฐาน EDQM (หน้า 28)

5)หัวข้อ ปริมาณบรรจุ

กรอกปริมาณบรรจุของยาต่อหน่วยย่อยที่สุดในการจ่ายยาเป็นตัวเลข เช่น 120 mL/1 bottle ค่าในที่นี้คือ “120” เนื่องจาก bottle เป็นหน่วยย่อยที่สุดในการจ่ายยา ซึ่งบรรจุขวดละ 120 mL

**ในบางกรณีจะไม่มีค่าข้อมูลนี้ เช่น กรณียาเม็ด เนื่องจาก tablet เป็นหน่วยย่อยที่สุดในการจ่ายยา ฯลฯ

6) หัวข้อ หน่วยปริมาณบรรจุ

เลือกหน่วยของปริมาณบรรจุ เช่น 120 mL/1 bottle ค่าในที่นี้คือ “mL”

**โดยหัวข้อนี้จะกรอกเมื่อมีการกรอกข้อมูลในข้อ 5) เท่านั้น

7) หัวข้อ หน่วยการจ่ายยา

เลือกหน่วยย่อยที่สุดในการจ่ายยา โดยอ้างอิงตามมาตรฐานของ EDQM ซึ่งท่านสามารถค้นหาหน่วยการจ่ายยา (Dispensing unit) ตามมาตรฐาน EDQM ได้จาก https://standardterms.edqm.eu/ และสามารถตรวจสอบตัวอย่างหน่วยการจ่ายยาได้ดังภาคผนวกที่ 2 ตารางแสดงตัวอย่างหน่วยการจ่ายยา (Dispensing unit) ตามมาตรฐาน EDQM (หน้า 58)

นอกจากนี้ตัวอย่างการเลือกใช้หน่วยการจ่ายยา มีดังนี้

– กรณียาน้ำ เช่น 120 mL/1 bottle ค่าในที่นี้คือ “bottle”

– กรณียาเม็ดที่เป็นแผง อาจมีหน่วยการจ่ายยาได้ทั้งเป็น “tablet” เมื่อสามารถตัดเม็ดยาออกจากแผงและจ่ายยาเป็นเม็ดโดยไม่ต้องจ่ายทั้งแผงได้ หรือ เป็น “pack” เมื่อต้องจ่ายยาทั้งแผงเท่านั้น ไม่   สามารถแบ่งจ่ายเป็นเม็ดได้ เช่น ยาเม็ดคุมกำเนิด

8) หัวข้อ ชื่อผู้ผลิตยา กรอกชื่อบริษัทผู้ผลิตยา (ไม่ใช่ชื่อบริษัทผู้นำเข้าหรือผู้จำหน่าย)

– หากสถานที่ผลิตตั้งอยู่ในประเทศไทย ให้พิมพ์ชื่อบริษัทผู้ผลิตยาเป็นภาษาไทย

– หากสถานที่ผลิตตั้งอยู่ในต่างประเทศ ให้พิมพ์ชื่อบริษัทผู้ผลิตยาเป็นภาษาอังกฤษ และเป็นตัวพิมพ์ใหญ่

  *ไม่ต้องใส่ “, ชื่อประเทศ” ในชื่อผู้ผลิตยา

**หากเลือกชื่อผู้ผลิตจากตัวเลือกของโปรแกรม รบกวนลบ “, ชื่อประเทศ” ออก

9)หัวข้อ ประเทศของผู้ผลิตยา เลือกชื่อประเทศของผู้ผลิตยา

10) เมื่อกรอกข้อมูลเสร็จแล้ว คลิกที่ปุ่ม “บันทึก

ส่วนที่ 2 ข้อมูลบรรจุภัณฑ์

ในการบันทึกข้อมูลบรรจุภัณฑ์ ระบบจะให้บันทึกข้อมูลบรรจุภัณฑ์ชั้นใน (primary package) ก่อนเสมอ หลังจากนั้นผู้ใช้งานสามารถเลือกบันทึกข้อมูลบรรจุภัณฑ์ชั้นใน (primary package) หรือบรรจุภัณฑ์ชั้นนอก (secondary package) ก็ได้ โดยบันทึกข้อมูลบรรจุภัณฑ์ครั้งละ 1 ชั้นบรรจุภัณฑ์ตามรายละเอียดดังนี้

1) หัวข้อ “ชั้นบรรจุภัณฑ์” คลิกเลือกชั้นของบรรจุภัณฑ์ที่ต้องการกรอกข้อมูล ดังนี้

a. เลือก บรรจุภัณฑ์ชั้นใน (primary packaging) สำหรับบรรจุภัณฑ์ชั้นที่สัมผัสกับผลิตภัณฑ์ยา

b. เลือก บรรจุภัณฑ์ชั้นนอก (secondary package) สำหรับบรรจุภัณฑ์ชั้นที่ไม่สัมผัสกับผลิตภัณฑ์ยา

2) กรอกข้อมูลของชั้นบรรจุภัณฑ์ตามที่เลือกในข้อ 1) ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

a. หากเลือก บรรจุภัณฑ์ชั้นใน (primary packaging)

รูปที่ 13 แสดงรายละเอียดข้อมูลที่ต้องกรอกเมื่อเลือกบรรจุภัณฑ์ชั้นใน

– หัวข้อ “ขนาดบรรจุภัณฑ์ กรอกจำนวนหน่วยย่อยทั้งหมดที่อยู่ในบรรจุภัณฑ์ชั้นในเป็นตัวเลข 

เช่น 10 tablet/blister ค่าในที่นี้คือ “10”

– หัวข้อ “หน่วยย่อย เลือกหน่วยนับของหน่วยย่อย

เช่น 10 tablet/blister ค่าในที่นี้คือ “tablet”

– หัวข้อ “หน่วยนับบรรจุภัณฑ์ เลือกหน่วยนับของบรรจุภัณฑ์ชั้นใน 

เช่น 10 tablet/blister ค่าในที่นี้คือ “blister”

– หัวข้อ “GTIN” กรอกรหัสมาตรฐานสากล GS1 (GTIN) หรือหมายเลข Barcode ที่ระบุบนบรรจุภัณฑ์ชั้นใน หากมีระบุทั้งรหัส GTIN และหมายเลข Barcode ให้กรอก “รหัส GTIN ตามด้วยเครื่องหมาย / แล้วตามด้วยหมายเลข Barcode” 

เช่น ยา A มีรหัส GTIN คือ 9999999999999 และหมายเลข Barcode คือ 0000000000000 

      ดังนั้น วิธีกรอกข้อมูลในหัวข้อ GTIN คือ 9999999999999/0000000000000

– เมื่อกรอกข้อมูลเสร็จแล้ว คลิกที่ปุ่ม “บันทึก” เพื่อบันทึกข้อมูลบรรจุภัณฑ์

b. หากเลือก บรรจุภัณฑ์ชั้นนอก (secondary package)

รูปที่ 14 แสดงรายละเอียดข้อมูลที่ต้องกรอกเมื่อเลือกบรรจุภัณฑ์ชั้นนอก

– หัวข้อ “บรรจุภัณฑ์ชั้นใน เลือกบรรจุภัณฑ์ชั้นในที่บันทึกไว้ก่อนหน้านี้ ซึ่งเป็นบรรจุภัณฑ์ที่บรรจุอยู่ในบรรจุภัณฑ์ชั้นนอกที่ต้องการบันทึกข้อมูล

เช่น ยา A 10 tablet/blister บรรจุในกล่อง กล่องละ 20 แผง ดังนั้น บรรจุภัณฑ์ชั้นในที่เลือก คือ 10 tablet blister

– หัวข้อ “ขนาดบรรจุภัณฑ์ กรอกจำนวนบรรจุภัณฑ์ชั้นในทั้งหมดที่อยู่ในบรรจุภัณฑ์ชั้นนอกเป็นตัวเลข เช่น ยา A 10 tablet/blister บรรจุในกล่อง กล่องละ 20 แผง ค่าในที่นี้คือ “20”

– หัวข้อ “หน่วยย่อย เลือกหน่วยนับของบรรจุภัณฑ์ชั้นใน

เช่น ยา A 10 tablet/blister บรรจุในกล่อง กล่องละ 20 แผง ค่าในที่นี้คือ “blister”

– หัวข้อ “หน่วยนับบรรจุภัณฑ์ เลือกหน่วยนับของบรรจุภัณฑ์ชั้นนอก 

เช่น ยา A 10 tablet/blister บรรจุในกล่อง กล่องละ 20 แผง ค่าในที่นี้คือ “box”

– หัวข้อ “GTIN” กรอกรหัสมาตรฐานสากล GS1 (GTIN) หรือหมายเลข Barcode ที่ระบุบนบรรจุภัณฑ์ชั้นนอก หากมีระบุทั้งรหัส GTIN และหมายเลข Barcode ให้กรอก “รหัส GTIN ตามด้วยเครื่องหมาย / แล้วตามด้วยหมายเลข Barcode” 

เช่น ยา A มีรหัส GTIN คือ 8888888888888 และหมายเลข Barcode บนบรรจุภัณฑ์ชั้นใน คือ  
      1111111111111 ดังนั้น วิธีกรอกข้อมูลในหัวข้อ GTIN คือ 8888888888888/1111111111111

– เมื่อกรอกข้อมูลเสร็จแล้ว คลิกที่ปุ่ม “บันทึก” เพื่อบันทึกข้อมูลบรรจุภัณฑ์ 

3) ข้อมูลบรรจุภัณฑ์ที่ท่านบันทึกแล้วจะถูกแสดงในตารางดังรูปที่ 11

4) บันทึกข้อมูลบรรจุภัณฑ์จนครบทุกชั้นบรรจุภัณฑ์และทุกขนาดบรรจุ

5) หัวข้อ คำอธิบายบรรจุภัณฑ์เพิ่มเติม (ถ้ามี) ระบุคำอธิบายเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์เพิ่มเติมเพื่อสื่อสารให้เจ้าหน้าที่เข้าใจมากขึ้น เช่น ขายแบบขวดเปลือยไม่มีกล่อง ฯลฯ จากนั้นคลิกที่ปุ่ม “บันทึก

ส่วนที่ 3 รูปภาพยา

ข้อมูลบรรจุภัณฑ์ที่บันทึกไว้ในส่วนที่ 2 จะถูกเชื่อมโยงมายังการอัพโหลดรูปภาพยาในส่วนนี้ โดยหนึ่งชั้นบรรจุภัณฑ์จะต้องทำการอัพโหลดรูปภาพหนึ่งชุด ซึ่งแต่ละชุดจะมีจำนวนรูปภาพแตกต่างกันตามหน่วยการจ่ายยาและลักษณะบรรจุภัณฑ์ที่บันทึกไว้ โดยท่านสามารถศึกษารายละเอียดการถ่ายภาพเพื่อนำรูปภาพมาอัพโหลดในหัวข้อนี้ได้จากภาคผนวกที่ 3 ข้อกำหนดรูปภาพ TMT (หน้า 63)

รูปที่ 16 แสดงข้อมูลที่ต้องกรอกสำหรับส่วนที่ 3 รูปภาพยา

ขั้นตอนการอัพโหลดรูปภาพมีดังนี้

1) คลิกเลือก หีบห่อบรรจุ ที่ต้องการอัพโหลดรูปภาพ

2)คลิกปุ่ม “อัพโหลดภาพ” เพื่อเลือกรูปภาพและอัพโหลดรูปภาพจนครบทุกข้อ ดังรูปที่ 18

3)จากนั้นเริ่มดำเนินการตั้งแต่ข้อ 1) อีกครั้ง โดยคลิกเลือกหีบห่อบรรจุ และอัพโหลดรูปภาพจนครบทุกชั้น
 บรรจุภัณฑ์

ส่วนที่ 4 ประเภทบัญชียา

1)หัวข้อ ประเภทบัญชี เลือกประเภทบัญชียาหลักแห่งชาติของผลิตภัณฑ์ยาตามประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ เรื่อง บัญชียาหลักแห่งชาติ ฉบับล่าสุด ตามตัวเลือกดังนี้

– ED สำหรับผลิตภัณฑ์ยาที่อยู่ในรายการบัญชียาหลักแห่งชาติ แบบไม่มีเงื่อนไขการใช้ยา

– ED* สำหรับผลิตภัณฑ์ยาที่อยู่ในรายการบัญชียาหลักแห่งชาติ แบบมีเงื่อนไขการใช้ยา

– NED สำหรับผลิตภัณฑ์ยาที่ไม่อยู่ในรายการบัญชียาหลักแห่งชาติ

2) หัวข้อ วันที่ประกาศ กรอกวันที่ซึ่งบัญชียาหลักแห่งชาติฉบับที่ท่านเลือกใช้ถูกประกาศลงในราชกิจจา-นุเบกษา เช่น หากท่านใช้ประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ เรื่อง บัญชียาหลักแห่งชาติ ฉบับล่าสุด คือ ฉบับปี พ.ศ. 2562 ซึ่งประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาวันที่ 17 เมษายน 2562 ดังนั้น วันที่ที่ต้องระบุลงในหัวข้อนี้คือ 17/04/2019

3) จากนั้นคลิกที่ปุ่ม “บันทึก” เพื่อบันทึกข้อมูลประเภทบัญชียา

ส่วนที่ 5 เลขทะเบียนยา

กรอกข้อมูลเลขทะเบียนยาตามที่ได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ลงในหัวข้อ เลขทะเบียนยา จากนั้นคลิกที่ปุ่ม “บันทึก” เพื่อบันทึกข้อมูลเลขทะเบียนยา

ส่วนที่ 6 ATC

กรอกข้อมูลรหัสของผลิตภัณฑ์ยาตามระบบ The anatomical therapeutic chemical classification system (ATC) ซึ่งสามารถค้นหาข้อมูลได้จาก https://www.whocc.no/atc_ddd_index/ ลงในหัวข้อ ATC จากนั้นคลิกปุ่ม “บันทึก” เพื่อบันทึกข้อมูล ATC code

2.6 ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลอีกครั้ง จากนั้นคลิกที่ปุ่ม “ส่งคำขอ” เพื่อส่งคำขอรหัส TMT

2.7 รอการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่ (เจ้าหน้าที่จะดำเนินการตรวจสอบข้อมูลภายใน 2-3 สัปดาห์)

– หากคำขอผ่านการตรวจสอบเบื้องต้นจากเจ้าหน้าที่ สถานะของคำขอจะถูกเปลี่ยนเป็น “รออนุมัติ”

– หากคำขอไม่ผ่านการตรวจสอบ และต้องมีการแก้ไขเพิ่มเติม สถานะของคำขอจะถูกเปลี่ยนเป็น “รอแก้ไข”โดยท่านต้องดำเนินการแก้ไขตามคำแนะนำของเจ้าหน้าภายใน 30 วันปฏิทิน และคลิก “ส่งคำขอ” กลับไปยังเจ้าหน้าที่อีกครั้ง

– คำขอของท่านจะได้รับรหัส TMT ภายใน 4-5 สัปดาห์นับตั้งแต่วันที่เอกสารครบถ้วน ซึ่งรหัส TMT จะมีการ เผยแพร่ทุกวันจันทร์แรก และจันทร์ที่สามของเดือนเท่านั้น (หากวันจันทร์ตรงกับวันหยุดราชการจะเลื่อนการเผยแพร่เป็นวันทำการถัดไป) ท่านสามารถตรวจสอบรหัสได้จากเอกสาร TMT Release file ทาง https://www.this.or.th/tmtrf_downloads.php