ขั้นตอนการใช้งานโปรแกรม TMT Connect
1. สมัครสมาชิก
1.1 เข้าสู่เว็บไซต์ http://tmt.this.or.th:8081/
1.2 คลิกที่ปุ่ม “ลงทะเบียน” ดังรูปที่ 1
ระบบจะนำท่านไปสู่หน้าจอสำหรับกรอกข้อมูลเพื่อสมัครสมาชิก

1.3 กรอกข้อมูลส่วนตัวเพื่อสมัครสมาชิก ตามหัวข้อดังรูปที่ 2
* บังคับกรอกข้อมูลทุกช่องที่มี *
**หัวข้อ “สถานที่ทำงาน” ระบุสถานที่ทำงานที่ท่านสังกัดอยู่ โดยเขียนชื่อหน่วยงานตามที่ระบุในใบอนุญาตที่ทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาออกให้ (กรณีมีใบอนุญาต)
1.4 คลิกที่ข้อความ “ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม” เพื่อดาวน์โหลดแบบฟอร์มใบสมัครขอใช้ระบบสารสนเทศเพื่อการพัฒนาทะเบียนบัญชีข้อมูลยาและรหัสยามาตรฐานไทย (TMT) ซึ่งอยู่ในรูปแบบไฟล์ pdf
1.5 อ่านรายละเอียดในใบสมัครฯ และกรอกข้อมูลลงในแบบฟอร์มให้ครบถ้วน ลงชื่อพร้อมระบุตำแหน่งของผู้สมัคร จากนั้นให้หัวหน้างาน เช่น ผู้จัดการแผนก, หัวหน้าฝ่าย ฯลฯ ลงชื่อรับรองการมอบหมายให้ผู้สมัครเป็นผู้แทนของโรงพยาบาล/บริษัทยาในการดูแลข้อมูลรหัส TMT ของหน่วยงาน
1.6 สแกนเอกสารตามรายละเอียดด้านล่างต่อกันเป็นไฟล์เดียว
1) แบบฟอร์มใบสมัครฯ ที่กรอกข้อมูลเรียบร้อยแล้ว
2) ใบอนุญาตผลิต/นำเข้าของบริษัทที่ทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาออกให้ (กรณีบริษัทยา)
1.7 อัพโหลดไฟล์เอกสารดังข้อ 1.6 ที่หัวข้อ “แนบเอกสาร” จากนั้นคลิกปุ่ม “บันทึก”
1.8 อ่านรายละเอียดข้อตกลงการใช้บริการระบบสารสนเทศเพื่อการพัฒนาทะเบียนบัญชีข้อมูลยาและรหัสยามาตรฐานไทย (TMT) ดังรูปที่ 3 จากนั้นคลิกยอมรับข้อกำหนดและเงื่อนไข และคลิกปุ่ม “ยอมรับ“
1.9 หน้าจอแสดงข้อความ “ลงทะเบียนสำเร็จ”
1.10 เปิดอีเมลที่ท่านใช้ในการสมัครใช้งานเว็บไซต์ จากนั้นคลิกที่ลิงค์เพื่อยืนยันความถูกต้องของอีเมล
1.11 รอเจ้าหน้าที่ตรวจสอบข้อมูล และอนุมัติสิทธิ์การเป็นสมาชิกภายใน 3 วันทำการ
*หมายเหตุ ท่านจะสามารถเข้าใช้งานโปรแกรม TMT Connect ได้เมื่อเจ้าหน้าที่อนุมัติสิทธิ์แล้วเท่านั้น



2. ขอสร้างรหัส TMT ใหม่สำหรับบริษัทยา
2.1 เข้าเว็บไซต์ http://tmt.this.or.th:8081/
2.2 เข้าสู่ระบบด้วย Username และ Password ที่สมัครไว้


2.3 คลิกที่เมนู “ขอสร้างใหม่” (ดังรูปที่ 6)
ระบบจะนำท่านไปสู่หน้าจอหลักของการขอสร้างรหัส TMT ใหม่ดังรูปที่ 7 โดยในหน้านี้จะแสดงรายการคำขอสร้างรหัส TMT ทั้งหมดตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันของท่าน และแสดงสถานะปัจจุบันของคำขอแต่ละรายการ
นอกจากนี้ท่านยังสามารถเลือกดูเฉพาะรายการคำขอที่สนใจได้ตามรายละเอียดดังนี้
- ติ๊กเลือกหัวข้อ “แสดงเฉพาะที่ยังไม่มี TMTID” หมายถึง การแสดงเฉพาะคำขอที่ยังไม่มีรหัส TMT
- ติ๊กเลือกหัวข้อ “แสดงรายการที่ยกเลิก” หมายถึง การแสดงรายการคำขอทั้งหมด รวมถึงรายการคำขอที่ท่านกดยกเลิกไปแล้วด้วย
- ติ๊กเลือกหัวข้อ “แสดงรายการที่ส่งกลับให้แก้ไข” หมายถึง การแสดงรายการคำขอทั้งหมด รวมถึงรายการคำขอที่เจ้าหน้าที่ส่งกลับให้บริษัทแก้ไขข้อมูลด้วย

a รหัส TPU ของผลิตภัณฑ์ยาที่มีรหัสแล้ว (TPUID)
b ชื่อการค้า (trade name)
c ตัวยาสำคัญและความแรง
d รูปแบบยา (dosage form)
e ปุ่ม “ขอสร้าง” เมื่อคลิกแล้วจะเข้าสู่หน้าจอการกรอกข้อมูลสำหรับสร้างคำขอรายการใหม่
f ปริมาณบรรจุของยาต่อหน่วยย่อยที่สุดในการจ่ายยา
g หน่วยย่อยที่สุดในการจ่ายยา
h ชื่อผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ยา
i ชื่อผู้สร้างคำขอ
j ชื่อผู้แก้ไขคำขอล่าสุด
k สถานะคำขอ แบ่งออกเป็น 7 สถานะ ดังนี้
ตารางที่ 1 แสดงความหมายของสถานะคำขอแต่ละรายการ

สถานะ | ความหมาย |
ยังไม่ส่งคำขอ | คำขอที่มีการกรอกข้อมูล แต่ยังไม่ได้ส่งให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบ |
รอตรวจสอบ | คำขอที่รอเจ้าหน้าที่ตรวจสอบข้อมูล หมายเหตุ: เจ้าหน้าที่จะดำเนินการตรวจสอบข้อมูลภายใน 2-3 สัปดาห์ โดยเมื่อเจ้าหน้าที่ตรวจสอบเรียบร้อยแล้วสถานะจะเปลี่ยนเป็น “รอแก้ไข” หรือ “รออนุมัติ” |
รอแก้ไข | คำขอที่เจ้าหน้าที่ส่งกลับมาให้ท่านแก้ไขข้อมูล โดยท่านสามารถตรวจสอบรายละเอียดที่ต้องแก้ไข โดยคลิกที่ปุ่ม (l) ของรายการคำขอที่ท่านต้องการตรวจสอบ จากนั้นคลิกที่ปุ่ม“สนทนา” |
รออนุมัติ | คำขอที่ผ่านการตรวจสอบเบื้องต้นแล้ว และรอการอนุมัติ |
ส่งสร้าง TMT | คำขอที่ได้รับการอนุมัติแล้ว และกำลังดำเนินการสร้างรหัส TMT |
สร้างสำเร็จ | คำขอที่ได้รับรหัส TMT เรียบร้อยแล้ว โดยจะแสดงรหัส TPU ที่ได้รับในคอลัมน์ TPUID (a) |
ยกเลิก | คำขอที่ท่านกดยกเลิกคำขอ |

2.4 คลิกที่ปุ่ม “ขอสร้าง” (e) (ดังรูปที่ 7) เพื่อสร้างคำขอรหัส TMT รายการใหม่
2.5 กรอกข้อมูลของผลิตภัณฑ์ที่ต้องการขอรหัส TMT ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลทั้งหมด 6 ส่วน ดังนี้
* บังคับกรอกข้อมูลทุกช่องที่มี *
** กรณีต้องการคำอธิบายเกี่ยวกับคำศัพท์ด้านยาเพิ่มเติม สามารถคลิกปุ่ม “คำอธิบาย”
ส่วนที่ 1 ข้อมูลยา

1) หัวข้อ ประเภทผลิตภัณฑ์
คลิกเลือกประเภทของผลิตภัณฑ์ที่ต้องการขอรหัส TMT ตามตัวเลือกดังนี้
- Commercial Product หมายถึง ยาที่มีจำหน่ายตามท้องตลาด (ยาที่ผลิตโดยบริษัทยา)
- Hospital Pharmaceutical Product หมายถึง ยาที่โรงพยาบาลเป็นผู้ผลิตเองแต่ไม่ได้จำหน่าย
- Outsourced Hospital Pharmaceutical Product หมายถึง ยาที่โรงพยาบาลเป็นผู้ผลิตเองและมีการจำหน่าย
- Modified Pharmaceutical Product หมายถึง ยาที่โรงพยาบาลทำการเปลี่ยนรูปแบบยา
2) หัวข้อชื่อยาทางการค้า
กรอกชื่อการค้าของผลิตภัณฑ์ยา (trade name) เป็นภาษาอังกฤษและภาษาไทย โดยไม่มีรูปแบบยาและความแรง ยกเว้นความแรงเป็นส่วนหนึ่งของชื่อการค้าตามที่ขึ้นทะเบียนไว้กับทางอย. กล่าวคือ จะมีตัวเลขในข้อมูลส่วนนี้เมื่อตัวเลขนั้นเป็นส่วนหนึ่งของชื่อการค้า
2.1 หัวข้อ ข้อมูลตัวยาสำคัญ
เลือก “ยาเดี่ยว” เมื่อผลิตภัณฑ์ยามีตัวยาสำคัญ 1 ตัวยา หรือ
“ยาผสม” เมื่อผลิตภัณฑ์ยามีตัวยาสำคัญมากกว่า 1 ตัว
a. หากเลือก ยาเดี่ยว
– หัวข้อ ตัวยาสำคัญ: กรอกชื่อสามัญทางยา (generic name) ตามมาตรฐาน INN Name เป็นภาษาอังกฤษและภาษาไทย โดยท่านสามารถค้นหาวิธีการเขียนชื่อสามัญทางยาตามมาตรฐาน INN Name ได้จาก https://mednet-communities.net/inn/
– หัวข้อ ความแรง: กรอกค่าความแรงของตัวยาสำคัญเป็นตัวเลข
– หัวข้อ หน่วยความแรง: เลือกหน่วยของความแรง
– หัวข้อ ตัวหารความแรง: กรอกค่าตัวหารความแรงยา (strength denominator) เป็นตัวเลข เช่น ความแรง 2 mg/5 mL ค่าในช่องนี้คือ “5” ในบางกรณีจะไม่มีค่าข้อมูลนี้ เช่น กรณียาเม็ด เป็นต้น
– หัวข้อ หน่วยตัวหารความแรง: เลือกหน่วยของตัวหารความแรง (strength denominator unit) เช่น ความแรง 2 mg/5 mL ค่าในช่องนี้คือ “mL” ในบางกรณีจะไม่มีค่าข้อมูลนี้ เช่น กรณียาเม็ด เป็นต้น

b.
- หากเลือก ยาผสม
ต้องดำเนินการบันทึกข้อมูลตัวยาสำคัญครั้งละ 1 ตัวยาตามรายละเอียดดังนี้
– หัวข้อ ตัวยาสำคัญ: กรอกชื่อสามัญทางยา (generic name) ตามมาตรฐาน INN Name เป็นภาษาอังกฤษและภาษาไทย โดยท่านสามารถค้นหาวิธีการเขียนชื่อสามัญทางยาตามมาตรฐาน INN Name ได้จาก https://mednet-communities.net/inn/
– หัวข้อ ความแรง: กรอกค่าความแรงของตัวยาสำคัญเป็นตัวเลข
– หัวข้อ หน่วยความแรง: เลือกหน่วยของความแรง
– หัวข้อ ตัวหารความแรง: กรอกค่าตัวหารความแรงยา (strength denominator) เป็นตัวเลข เช่น ความแรง 2 mg/5 mL ค่าในช่องนี้คือ “5” ในบางกรณีจะไม่มีค่าข้อมูลนี้ เช่น กรณียาเม็ด เป็นต้น
– หัวข้อ หน่วยตัวหารความแรง: เลือกหน่วยของตัวหารความแรง (strength denominator unit) เช่น ความแรง 2 mg/5 mL ค่าในช่องนี้คือ “mL” ในบางกรณีจะไม่มีค่าข้อมูลนี้ เช่น กรณียาเม็ด เป็นต้น
คลิกที่ปุ่ม “เพิ่ม” เพื่อบันทึกข้อมูลตัวยาสำคัญ
จากนั้นกรอกและบันทึกข้อมูลตัวยาสำคัญของผลิตภัณฑ์ยาจนครบทุกตัวยา


4) หัวข้อ รูปแบบยา
คลิกเลือกรูปแบบของยา (Dosage form) โดยอ้างอิงตามมาตรฐานของ EDQM เช่น film-coated tablet, powder for concentrate for solution for infusion, cutaneous solution เป็นต้น โดยท่านสามารถค้นหารูปแบบของยา (Dosage form) ตามมาตรฐาน EDQM ได้จาก https://standardterms.edqm.eu/ นอกจากนี้ท่านสามารถตรวจสอบตัวอย่างรูปแบบของยา (Dosage form) ตามมาตรฐาน EDQM ได้ที่ภาคผนวกที่ 1 ตารางแสดงตัวอย่างรูปแบบของยา (Dosage form) ตามมาตรฐาน EDQM (หน้า 28)
5)หัวข้อ ปริมาณบรรจุ
กรอกปริมาณบรรจุของยาต่อหน่วยย่อยที่สุดในการจ่ายยาเป็นตัวเลข เช่น 120 mL/1 bottle ค่าในที่นี้คือ “120” เนื่องจาก bottle เป็นหน่วยย่อยที่สุดในการจ่ายยา ซึ่งบรรจุขวดละ 120 mL
**ในบางกรณีจะไม่มีค่าข้อมูลนี้ เช่น กรณียาเม็ด เนื่องจาก tablet เป็นหน่วยย่อยที่สุดในการจ่ายยา ฯลฯ
6) หัวข้อ หน่วยปริมาณบรรจุ
เลือกหน่วยของปริมาณบรรจุ เช่น 120 mL/1 bottle ค่าในที่นี้คือ “mL”
**โดยหัวข้อนี้จะกรอกเมื่อมีการกรอกข้อมูลในข้อ 5) เท่านั้น
7) หัวข้อ หน่วยการจ่ายยา
เลือกหน่วยย่อยที่สุดในการจ่ายยา โดยอ้างอิงตามมาตรฐานของ EDQM ซึ่งท่านสามารถค้นหาหน่วยการจ่ายยา (Dispensing unit) ตามมาตรฐาน EDQM ได้จาก https://standardterms.edqm.eu/ และสามารถตรวจสอบตัวอย่างหน่วยการจ่ายยาได้ดังภาคผนวกที่ 2 ตารางแสดงตัวอย่างหน่วยการจ่ายยา (Dispensing unit) ตามมาตรฐาน EDQM (หน้า 58)
นอกจากนี้ตัวอย่างการเลือกใช้หน่วยการจ่ายยา มีดังนี้
– กรณียาน้ำ เช่น 120 mL/1 bottle ค่าในที่นี้คือ “bottle”
– กรณียาเม็ดที่เป็นแผง อาจมีหน่วยการจ่ายยาได้ทั้งเป็น “tablet” เมื่อสามารถตัดเม็ดยาออกจากแผงและจ่ายยาเป็นเม็ดโดยไม่ต้องจ่ายทั้งแผงได้ หรือ เป็น “pack” เมื่อต้องจ่ายยาทั้งแผงเท่านั้น ไม่ สามารถแบ่งจ่ายเป็นเม็ดได้ เช่น ยาเม็ดคุมกำเนิด
8) หัวข้อ ชื่อผู้ผลิตยา กรอกชื่อบริษัทผู้ผลิตยา (ไม่ใช่ชื่อบริษัทผู้นำเข้าหรือผู้จำหน่าย)
– หากสถานที่ผลิตตั้งอยู่ในประเทศไทย ให้พิมพ์ชื่อบริษัทผู้ผลิตยาเป็นภาษาไทย
– หากสถานที่ผลิตตั้งอยู่ในต่างประเทศ ให้พิมพ์ชื่อบริษัทผู้ผลิตยาเป็นภาษาอังกฤษ และเป็นตัวพิมพ์ใหญ่
*ไม่ต้องใส่ “, ชื่อประเทศ” ในชื่อผู้ผลิตยา
**หากเลือกชื่อผู้ผลิตจากตัวเลือกของโปรแกรม รบกวนลบ “, ชื่อประเทศ” ออก
9)หัวข้อ ประเทศของผู้ผลิตยา เลือกชื่อประเทศของผู้ผลิตยา
10) เมื่อกรอกข้อมูลเสร็จแล้ว คลิกที่ปุ่ม “บันทึก”
ส่วนที่ 2 ข้อมูลบรรจุภัณฑ์

ในการบันทึกข้อมูลบรรจุภัณฑ์ ระบบจะให้บันทึกข้อมูลบรรจุภัณฑ์ชั้นใน (primary package) ก่อนเสมอ หลังจากนั้นผู้ใช้งานสามารถเลือกบันทึกข้อมูลบรรจุภัณฑ์ชั้นใน (primary package) หรือบรรจุภัณฑ์ชั้นนอก (secondary package) ก็ได้ โดยบันทึกข้อมูลบรรจุภัณฑ์ครั้งละ 1 ชั้นบรรจุภัณฑ์ตามรายละเอียดดังนี้
1) หัวข้อ “ชั้นบรรจุภัณฑ์” คลิกเลือกชั้นของบรรจุภัณฑ์ที่ต้องการกรอกข้อมูล ดังนี้
a. เลือก บรรจุภัณฑ์ชั้นใน (primary packaging) สำหรับบรรจุภัณฑ์ชั้นที่สัมผัสกับผลิตภัณฑ์ยา
b. เลือก บรรจุภัณฑ์ชั้นนอก (secondary package) สำหรับบรรจุภัณฑ์ชั้นที่ไม่สัมผัสกับผลิตภัณฑ์ยา

2) กรอกข้อมูลของชั้นบรรจุภัณฑ์ตามที่เลือกในข้อ 1) ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
a. หากเลือก บรรจุภัณฑ์ชั้นใน (primary packaging)

– หัวข้อ “ขนาดบรรจุภัณฑ์” กรอกจำนวนหน่วยย่อยทั้งหมดที่อยู่ในบรรจุภัณฑ์ชั้นในเป็นตัวเลข
เช่น 10 tablet/blister ค่าในที่นี้คือ “10”
– หัวข้อ “หน่วยย่อย” เลือกหน่วยนับของหน่วยย่อย
เช่น 10 tablet/blister ค่าในที่นี้คือ “tablet”
– หัวข้อ “หน่วยนับบรรจุภัณฑ์” เลือกหน่วยนับของบรรจุภัณฑ์ชั้นใน
เช่น 10 tablet/blister ค่าในที่นี้คือ “blister”
– หัวข้อ “GTIN” กรอกรหัสมาตรฐานสากล GS1 (GTIN) หรือหมายเลข Barcode ที่ระบุบนบรรจุภัณฑ์ชั้นใน หากมีระบุทั้งรหัส GTIN และหมายเลข Barcode ให้กรอก “รหัส GTIN ตามด้วยเครื่องหมาย / แล้วตามด้วยหมายเลข Barcode”
เช่น ยา A มีรหัส GTIN คือ 9999999999999 และหมายเลข Barcode คือ 0000000000000
ดังนั้น วิธีกรอกข้อมูลในหัวข้อ GTIN คือ 9999999999999/0000000000000
– เมื่อกรอกข้อมูลเสร็จแล้ว คลิกที่ปุ่ม “บันทึก” เพื่อบันทึกข้อมูลบรรจุภัณฑ์
b. หากเลือก บรรจุภัณฑ์ชั้นนอก (secondary package)

– หัวข้อ “บรรจุภัณฑ์ชั้นใน” เลือกบรรจุภัณฑ์ชั้นในที่บันทึกไว้ก่อนหน้านี้ ซึ่งเป็นบรรจุภัณฑ์ที่บรรจุอยู่ในบรรจุภัณฑ์ชั้นนอกที่ต้องการบันทึกข้อมูล
เช่น ยา A 10 tablet/blister บรรจุในกล่อง กล่องละ 20 แผง ดังนั้น บรรจุภัณฑ์ชั้นในที่เลือก คือ 10 tablet blister

– หัวข้อ “ขนาดบรรจุภัณฑ์” กรอกจำนวนบรรจุภัณฑ์ชั้นในทั้งหมดที่อยู่ในบรรจุภัณฑ์ชั้นนอกเป็นตัวเลข เช่น ยา A 10 tablet/blister บรรจุในกล่อง กล่องละ 20 แผง ค่าในที่นี้คือ “20”
– หัวข้อ “หน่วยย่อย” เลือกหน่วยนับของบรรจุภัณฑ์ชั้นใน
เช่น ยา A 10 tablet/blister บรรจุในกล่อง กล่องละ 20 แผง ค่าในที่นี้คือ “blister”
– หัวข้อ “หน่วยนับบรรจุภัณฑ์” เลือกหน่วยนับของบรรจุภัณฑ์ชั้นนอก
เช่น ยา A 10 tablet/blister บรรจุในกล่อง กล่องละ 20 แผง ค่าในที่นี้คือ “box”
– หัวข้อ “GTIN” กรอกรหัสมาตรฐานสากล GS1 (GTIN) หรือหมายเลข Barcode ที่ระบุบนบรรจุภัณฑ์ชั้นนอก หากมีระบุทั้งรหัส GTIN และหมายเลข Barcode ให้กรอก “รหัส GTIN ตามด้วยเครื่องหมาย / แล้วตามด้วยหมายเลข Barcode”
เช่น ยา A มีรหัส GTIN คือ 8888888888888 และหมายเลข Barcode บนบรรจุภัณฑ์ชั้นใน คือ
1111111111111 ดังนั้น วิธีกรอกข้อมูลในหัวข้อ GTIN คือ 8888888888888/1111111111111
– เมื่อกรอกข้อมูลเสร็จแล้ว คลิกที่ปุ่ม “บันทึก” เพื่อบันทึกข้อมูลบรรจุภัณฑ์
3) ข้อมูลบรรจุภัณฑ์ที่ท่านบันทึกแล้วจะถูกแสดงในตารางดังรูปที่ 11
4) บันทึกข้อมูลบรรจุภัณฑ์จนครบทุกชั้นบรรจุภัณฑ์และทุกขนาดบรรจุ
5) หัวข้อ คำอธิบายบรรจุภัณฑ์เพิ่มเติม (ถ้ามี) ระบุคำอธิบายเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์เพิ่มเติมเพื่อสื่อสารให้เจ้าหน้าที่เข้าใจมากขึ้น เช่น ขายแบบขวดเปลือยไม่มีกล่อง ฯลฯ จากนั้นคลิกที่ปุ่ม “บันทึก”
ส่วนที่ 3 รูปภาพยา
ข้อมูลบรรจุภัณฑ์ที่บันทึกไว้ในส่วนที่ 2 จะถูกเชื่อมโยงมายังการอัพโหลดรูปภาพยาในส่วนนี้ โดยหนึ่งชั้นบรรจุภัณฑ์จะต้องทำการอัพโหลดรูปภาพหนึ่งชุด ซึ่งแต่ละชุดจะมีจำนวนรูปภาพแตกต่างกันตามหน่วยการจ่ายยาและลักษณะบรรจุภัณฑ์ที่บันทึกไว้ โดยท่านสามารถศึกษารายละเอียดการถ่ายภาพเพื่อนำรูปภาพมาอัพโหลดในหัวข้อนี้ได้จากภาคผนวกที่ 3 ข้อกำหนดรูปภาพ TMT (หน้า 63)

ขั้นตอนการอัพโหลดรูปภาพมีดังนี้
1) คลิกเลือก หีบห่อบรรจุ ที่ต้องการอัพโหลดรูปภาพ

2)คลิกปุ่ม “อัพโหลดภาพ” เพื่อเลือกรูปภาพและอัพโหลดรูปภาพจนครบทุกข้อ ดังรูปที่ 18
3)จากนั้นเริ่มดำเนินการตั้งแต่ข้อ 1) อีกครั้ง โดยคลิกเลือกหีบห่อบรรจุ และอัพโหลดรูปภาพจนครบทุกชั้น
บรรจุภัณฑ์

ส่วนที่ 4 ประเภทบัญชียา

1)หัวข้อ ประเภทบัญชี เลือกประเภทบัญชียาหลักแห่งชาติของผลิตภัณฑ์ยาตามประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ เรื่อง บัญชียาหลักแห่งชาติ ฉบับล่าสุด ตามตัวเลือกดังนี้
– ED สำหรับผลิตภัณฑ์ยาที่อยู่ในรายการบัญชียาหลักแห่งชาติ แบบไม่มีเงื่อนไขการใช้ยา
– ED* สำหรับผลิตภัณฑ์ยาที่อยู่ในรายการบัญชียาหลักแห่งชาติ แบบมีเงื่อนไขการใช้ยา
– NED สำหรับผลิตภัณฑ์ยาที่ไม่อยู่ในรายการบัญชียาหลักแห่งชาติ
2) หัวข้อ วันที่ประกาศ กรอกวันที่ซึ่งบัญชียาหลักแห่งชาติฉบับที่ท่านเลือกใช้ถูกประกาศลงในราชกิจจา-นุเบกษา เช่น หากท่านใช้ประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ เรื่อง บัญชียาหลักแห่งชาติ ฉบับล่าสุด คือ ฉบับปี พ.ศ. 2562 ซึ่งประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาวันที่ 17 เมษายน 2562 ดังนั้น วันที่ที่ต้องระบุลงในหัวข้อนี้คือ 17/04/2019
3) จากนั้นคลิกที่ปุ่ม “บันทึก” เพื่อบันทึกข้อมูลประเภทบัญชียา
ส่วนที่ 5 เลขทะเบียนยา
กรอกข้อมูลเลขทะเบียนยาตามที่ได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ลงในหัวข้อ เลขทะเบียนยา จากนั้นคลิกที่ปุ่ม “บันทึก” เพื่อบันทึกข้อมูลเลขทะเบียนยา

ส่วนที่ 6 ATC
กรอกข้อมูลรหัสของผลิตภัณฑ์ยาตามระบบ The anatomical therapeutic chemical classification system (ATC) ซึ่งสามารถค้นหาข้อมูลได้จาก https://www.whocc.no/atc_ddd_index/ ลงในหัวข้อ ATC จากนั้นคลิกปุ่ม “บันทึก” เพื่อบันทึกข้อมูล ATC code

2.6 ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลอีกครั้ง จากนั้นคลิกที่ปุ่ม “ส่งคำขอ” เพื่อส่งคำขอรหัส TMT
2.7 รอการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่ (เจ้าหน้าที่จะดำเนินการตรวจสอบข้อมูลภายใน 2-3 สัปดาห์)
– หากคำขอผ่านการตรวจสอบเบื้องต้นจากเจ้าหน้าที่ สถานะของคำขอจะถูกเปลี่ยนเป็น “รออนุมัติ”
– หากคำขอไม่ผ่านการตรวจสอบ และต้องมีการแก้ไขเพิ่มเติม สถานะของคำขอจะถูกเปลี่ยนเป็น “รอแก้ไข”โดยท่านต้องดำเนินการแก้ไขตามคำแนะนำของเจ้าหน้าภายใน 30 วันปฏิทิน และคลิก “ส่งคำขอ” กลับไปยังเจ้าหน้าที่อีกครั้ง
– คำขอของท่านจะได้รับรหัส TMT ภายใน 4-5 สัปดาห์นับตั้งแต่วันที่เอกสารครบถ้วน ซึ่งรหัส TMT จะมีการ เผยแพร่ทุกวันจันทร์แรก และจันทร์ที่สามของเดือนเท่านั้น (หากวันจันทร์ตรงกับวันหยุดราชการจะเลื่อนการเผยแพร่เป็นวันทำการถัดไป) ท่านสามารถตรวจสอบรหัสได้จากเอกสาร TMT Release file ทาง https://www.this.or.th/tmtrf_downloads.php
