รูปภาพที่กำหนด

ทางสมสท.กำหนดให้ถ่ายภาพเก็บรูปภาพยาเม็ดยาแคปซูลรูปภาพบรรจุภัณฑ์ปฐมภูมิ (primary package) และรูปภาพบรรจุภัณฑ์ทุติยภูมิ (secondary package) เท่านั้น นอกจากนี้ หากมีข้อมูลที่จำเป็นทางคลินิกทางคณะทำงาน TMT อาจเรียกขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ การเรียกชื่อผลิตภัณฑ์ยาประเภทต่างๆ เป็นการปรับปรุงการเรียกชื่อจากมาตรฐาน EDQM (European Directorate for the Quality of Medicines & HealthCare) และ มาตรฐาน SNOMED CT (Systematized Nomenclature of Medicine — Clinical Terms) มาตรฐานรูปภาพได้ศึกษาและพัฒนาโดยอ้างอิงจากมาตรฐานสากล GS-1

ผลิตภัณฑ์ยาแต่ละรูปแบบมีข้อกำหนดรายละเอียดรูปภาพที่แตกต่างกัน ดังนี้

1. รูปภาพเม็ดยาและแคปซูล

ผลิตภัณฑ์ยารูปแบบยาเม็ดและยาแคปซูล ให้ถ่ายภาพเม็ดยาทั้งด้านหน้าและด้านหลังบนพื้นหลังสีขาวพร้อมตารางหน่วยวัดเซนติเมตรประกอบในภาพเดียวกัน กรณีเม็ดยามีสัดส่วนความยาวน้อยกว่า 1.5 เท่าของความกว้าง ให้วางเม็ดยาด้านหน้าทางด้านซ้ายของภาพและเม็ดยาด้านหลังทางด้านขวาของภาพ ส่วนกรณีเม็ดยามีสัดส่วนความยาวตั้งแต่ 1.5 เท่าของความกว้าง ให้วางเม็ดยาด้านหน้าทางด้านล่างของภาพและเม็ดยาด้านหลังทางด้านบนของภาพ โดยเว้นระยะห่างระหว่างเม็ดตามความเหมาะสม และควรวางให้เม็ดยาชิดแนวเริ่มต้น 0 เซนติเมตรทั้งแนวตั้งและแนวนอน ทั้งนี้เม็ดยาด้านหน้า หมายถึงด้านที่มีข้อมูลตามลำดับ ดังนี้

  • ด้านที่ระบุสัญลักษณ์บริษัทหรือชื่อการค้า
  • ด้านที่ระบุตัวอักษร (กรณีมีตัวอักษรทั้งสองด้าน กำหนดให้ด้านที่มีตัวอักษรลำดับน้อยกว่าเป็นด้านหน้า)
  • ด้านที่ระบุตัวเลข

2. รูปภาพบรรจุภัณฑ์ปฐมภูมิ (primary package)

รูปภาพบรรจุภัณฑ์ปฐมภูมิ หมายถึง รูปภาพบรรจุภัณฑ์ที่อยู่ชั้นในสุดที่ติดกับเนื้อผลิตภัณฑ์ยา เฉพาะชั้นที่ระบุข้อความเพื่อบ่งบอกเอกลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ยา ไม่รวมถึงซองหรือถุงที่ใช้บรรจุยาโดยไม่ระบุข้อมูลของผลิตภัณฑ์ยา โดยมีรายละเอียดรูปภาพ ดังนี้

2.1 รูปภาพแผงยา

ผลิตภัณฑ์ยารูปแบบยาเม็ดและยาแคปซูลที่บรรจุอยู่ในแผงยาทั้งแบบบลิสเตอร์ (blister) และสตริป (strip) ให้ถ่ายภาพแผงยาทั้งด้านหน้าและด้านหลังบนพื้นหลังสีขาวพร้อมตารางแสดงหน่วยวัดเซนติเมตรประกอบในภาพเดียวกัน โดยควรวางแผงยาด้านหน้าทางด้านซ้ายของภาพชิดแนวเริ่มต้น 0 เซนติเมตรทั้งแนวตั้งและแนวนอน และวางแผงยาด้านหลังทางด้านขวาของภาพ โดยเว้นระยะห่างระหว่างแผงยาตามความเหมาะสม ทั้งนี้แผงยาด้านหน้า หมายถึงด้านที่มีข้อมูลชื่อผลิตภัณฑ์ยา

2.2 รูปภาพขวดยาหรือผลิตภัณฑ์มีทรงสูง

ผลิตภัณฑ์ยาที่บรรจุในขวดหรือกระปุก รูปทรงกระบอก รูปสี่เหลี่ยม หรือมีลักษณะเป็นทรงสูงใดๆ ที่สามารถตั้งได้

การถ่ายภาพ กำหนดให้ถ่าย 4 ภาพ คือ ด้านหน้า ด้านซ้าย ด้านขวา และด้านหลัง โดยไม่ต้องถ่ายด้านบนและด้านล่าง โดยเริ่มถ่ายนับจากด้านหน้าเป็นรูปแรก และหมุนผลิตภัณฑ์ยาด้านละ 90 องศาเพื่อให้ได้ภาพถ่าย ด้านซ้าย ด้านหลัง และด้านขวา ให้วางยาในลักษณะที่อ่านตัวอักษรในแนวตั้งได้ การถ่ายภาพ ให้ถ่ายภาพผลิตภัณฑ์ยาบนพื้นหลังสีขาวพร้อมตารางแสดงหน่วยวัดเซนติเมตรประกอบในภาพเดียวกันและควรวางให้ผลิตภัณฑ์ยาชิดแนวเริ่มต้น 0 เซนติเมตรทั้งแนวตั้งและแนวนอน

กำหนดให้รูปแบบผลิตภัณฑ์ยาที่ต้องถ่ายในหัวข้อนี้ (สามารถดูตัวอย่างรูปภาพในภาคผนวก) คือ

รูปแบบยาคำอธิบายDescription
actuationเครื่องกดสูด เช่น พวกเครื่องพ่นยาA unit of presentation used to represent the quantity of product that is administered following a single operation of a metered-dose pump, valve or other equivalent dosing mechanism. (EDQM)
ampouleแอมพูล คือ หลอดแก้วที่ใส่ยาสำหรับยาฉีดContainer sealed by fusion and to be opened exclusively by breaking. The contents are intended for use on one occasion only. (EDQM)
bottleขวดที่มีคอขวดเห็นได้ชัดA unit of presentation used to represent the quantity of product that is found in a single bottle container. (EDQM)
canisterกระป๋องสเปรย์Canister, device (physical object) (SNOMED CT)
dropper containerขวดแก้วหยดA container, usually a bottle, fitted with a dropper applicator. (EDQM)
gallonแกลลอน ภาชนะบรรจุยาที่มีปริมาตรบรรจุมากGallon (qualifier value) (SNOMED CT)
inhalationเครื่องสูด เช่น เครื่องสูดรูปแบบพิเศษต่างๆInhalation use: Administration of a medicinal product to the respiratory system by inhalation to obtain a systemic or a local effect in the lower respiratory tract. Nasal use and endotracheopulmonary use are excluded. (EDQM)
jarภาชนะที่มีฝาปิดที่ฝาและขวดมีขนาดเท่าๆกัน เช่น ตลับยา กระปุกใส่ยา สามารถเป็นได้ทั้งแบบพลาสติกและเหล็กA unit of presentation used to represent the quantity of product that is found in a single jar container. (EDQM)
vialไวเอิล คือ ขวดแก้วขนาดเล็กซึ่งใช้บรรจุของเหลวA unit of presentation used to represent the quantity of product that is found in a single vial container. (EDQM)

ในกรณีที่ด้านบนและด้านล่างของบรรจุภัณฑ์มีข้อความที่สำคัญใดๆ ทางคณะทำงานอาจขอข้อมูลเพิ่มเติมได้

ในกรณีที่ภาชนะในหมวดนี้ลักษณะแบนมากๆ เช่น ยาตลับเล็กๆ กำหนดให้สามารถถ่ายรูป 2 ด้านได้ คือ ด้านบนและด้านล่าง หากด้านข้างไม่มีตัวอักษรที่ความสำคัญใดๆ

2.3 รูปภาพผลิตภัณฑ์ยามีลักษณะแบนหรือไม่มีทรงสูง

ผลิตภัณฑ์ยาประเภทนี้จะมีลักษณะแบน หรือไม่มีทรงสูง ไม่สามารถตั้งได้ จะถ่ายรูปได้แค่ด้านหน้าและด้านหลังเท่านั้น เช่น ถุงยาน้ำเกลือ ซองยา หลอดยาครีม ยาเหน็บ เป็นต้น

การถ่ายภาพ กำหนดให้ถ่ายภาพผลิตภัณฑ์ยาทั้งด้านหน้าและด้านหลังบนพื้นหลังสีขาวพร้อมตารางแสดงหน่วยวัดเซนติเมตรประกอบในภาพเดียวกัน ให้วางยาด้านหน้าชิดแนวเริ่มต้นที่ 0 เซนติเมตรทั้งแนวตั้งและแนวนอน ควรวางยาในลักษณะที่อ่านตัวอักษรในแนวตั้งได้ 

  • กรณีผลิตภัณฑ์ยามีสัดส่วนความยาวน้อยกว่า 1.5 เท่าของความกว้าง ให้วางผลิตภัณฑ์ยาด้านหน้าทางด้านซ้ายของภาพ และวางผลิตภัณฑ์ยาด้านหลังทางด้านขวาของภาพ 
  • กรณีผลิตภัณฑ์ยามีสัดส่วนความยาวตั้งแต่ 1.5 เท่าของความกว้าง ให้วางผลิตภัณฑ์ยาด้านหน้าทางด้านล่างของภาพและวางผลิตภัณฑ์ยาด้านหลังทางด้านบนของภาพ โดยเว้นระยะห่างระหว่างผลิตภัณฑ์ตามความเหมาะสม

กรณีสัดส่วนความยาว:กว้าง < 1.5

กรณีสัดส่วนความยาว:กว้าง ≥ 1.5

  • กรณีที่ผลิตภัณฑ์เป็นหลอด (tube) หรือ cartridge จะต้องหันหัวหลอดไปทางซ้าย และวางปลายหลอดไปด้านขวามือ
  • หากยาบรรจุในซองพลาสติกใส หรือ blister แบบใส สามารถเห็นผลิตภัณฑ์ยาด้านในชัดเจน ไม่จำเป็นต้องแกะผลิตภัณฑ์ยาออกมาถ่าย เช่น prefilled syringe, cartridge

กำหนดให้รูปแบบผลิตภัณฑ์ยาที่ต้องถ่ายในหัวข้อนี้ (สามารถดูตัวอย่างรูปภาพในภาคผนวก) คือ

รูปแบบยาคำอธิบายDescription
applicatorเครื่องมือที่ใส่บรรจุยาA unit of presentation used to represent the quantity of product that is found in a single applicator. (EDQM)
bagถุง เช่น ถุงน้ำเกลือA unit of presentation used to represent the quantity of product that is found in a single bag container. (EDQM)
barก้อน เช่น ก้อนสบู่A solid dose form that is rectangular in shape.   (SNOMED CT)
cartridgeคาร์ทริดจ์ ภาชนะบรรจุยาที่ใช้สำหรับ prefilled syringeA unit of presentation used to represent the quantity of product that is found in a single cartridge container. (EDQM)
chewing gumยาหมากฝรั่งเคี้ยวA unit of presentation used to represent the quantity of product that is found in a single discrete entity where the pharmaceutical dose form is a type of medicated chewing gum. (EDQM)
device setเครื่องมือชุดอุปกรณ์การแพทย์Device set (physical object). (SNOMED CT)
dressingวัสดุแผ่นใช้สำหรับทำแผลA unit of presentation used to represent the quantity of product that is found in a single discrete entity where the pharmaceutical dose form is a type of dressing. (EDQM)
implantวัสดุที่ฝังในร่างกายA unit of presentation used to represent the quantity of product that is found in a single discrete entity where the pharmaceutical dose form is a type of implant. (EDQM)
inhalerหลอดยาดมA unit of presentation used to represent the quantity of product that is found in a single inhaler container. (EDQM)
intrauterine contraceptive deviceอุปกรณ์ที่ใส่สำหรับคุมกำเนิดIntrauterine contraceptive device (physical object). (SNOMED CT)
lozengeยาอมA unit of presentation used to represent the quantity of product that is found in a single discrete entity where the pharmaceutical dose form is a type of lozenge. (EDQM)
pastilleยาเม็ดอมเคี้ยวA unit of presentation used to represent the quantity of product that is found in a single discrete entity where the pharmaceutical dose form is a type of pastille. (EDQM)
patchแผ่นแปะA unit of presentation used to represent the quantity of product that is found in a single discrete entity where the pharmaceutical dose form is a type of patch. (EDQM)
pessaryยาสอดช่องคลอดA unit of presentation used to represent the quantity of product that is found in a single discrete entity where the pharmaceutical dose form is a type of pessary. (EDQM)
plasterแผ่นพลาสเตอร์A unit of presentation used to represent the quantity of product that is found in a single discrete entity where the pharmaceutical dose form is a type of plaster. (EDQM)
prefilled penยารูปแบบปากกาพร้อมฉีดFilled container consisting usually of a cartridge, usually fitted with an injection needle, housed in a pen device that may or may not be fitted with a needle safety device. The cartridge contains a sterile, single-dose or multidose, parenteral preparation; it contains the final preparation in one compartment, or the components necessary for its preparation in different compartments. The cartridge is not replaceable and the pre-filled pen is intended to be discarded when empty. The pre-defined dose, which may or may not be adjustable, is administered via an actuation, such as the pressing of a button. (EDQM)
prefilled syrเข็มฉีดยาพร้อมฉีด (prefilled syringe)Filled container consisting of an injection syringe, generally supplied with an injection needle, which may or may not be fitted with a needle safety device. It contains a sterile, single-dose or multidose, parenteral preparation; it contains the final preparation in one compartment, or the components necessary for its preparation in different compartments. The pre-filled syringe is intended to be discarded when empty. (EDQM)
ringวงแหวนBasic dose form with solid state of matter (basic dose form). (SNOMED CT)
sachetซองA unit of presentation used to represent the quantity of product that is found in a single sachet container. (EDQM)
stickแท่งยาA unit of presentation used to represent the quantity of product that is found in a single discrete entity where the pharmaceutical dose form is a type of stick. (EDQM)
suppositoryยาเหน็บทางทวารหนักA unit of presentation used to represent the quantity of product that is found in a single discrete entity where the pharmaceutical dose form is a type of suppository. (EDQM)
tubeหลอด เช่น หลอดยาครีมA unit of presentation used to represent the quantity of product that is found in a single tube container. (EDQM)
unit doseหลอดบรรจุยาที่ใช้ครั้งเดียวทิ้งขนาดเล็กUnit dose (qualifier value). (SNOMED CT)

3. รูปภาพบรรจุภัณฑ์ทุติยภูมิ (secondary package)

กำหนดให้ถ่ายภาพเฉพาะระดับทุติยภูมิ (secondary package) คือ กล่องหรือภาชนะอื่นใดที่ใส่บรรจุยานับถัดจากบรรจุภัณฑ์ปฐมภูมิ (primary package) โดยไม่ต้องถ่ายลังกระดาษที่ใช้ในการขนส่งที่เป็นบรรจุภัณฑ์ระดับตติยภูมิ (tertiary package) ให้ถ่ายภาพบรรจุภัณฑ์ให้ครบทั้ง 6 ด้าน ได้แก่ ด้านหน้า ด้านหลัง ด้านซ้าย ด้านขวา ด้านบน และด้านล่าง

4. รูปภาพบรรจุภัณฑ์ทุติยภูมิ (secondary package)

ในกรณีรูปทรงยาพิเศษที่แตกต่างไปจากที่กำหนดไว้ในข้อ 4.2.1-4.3 นี้ ทางคณะทำงานอาจพิจารณาให้ถ่ายรูปลักษณะอื่นที่แตกต่างไปจากที่กำหนดนี้ได้

เช่น กรณีบรรจุภัณฑ์มี 8 ด้าน ให้ถ่ายด้านหน้า ด้านหลัง ด้านบน และด้านล่าง รูปละ 1 ด้าน ส่วนด้านข้างให้ถ่ายให้เห็นด้านซ้าย และด้านขวา รูปละ 2 ด้านข้าง

เอกสารอ้างอิง

  1. GS1 AISBL. GS1 Product Image Specification Standard. Version 3.5, May 2020.
  2. GS1 Canada. GS1 Pharmaceutical Image Implementation Guideline. Version 1.0, June 2017.
  3. GS1 US. Apparel and general merchandise: Best Practice Guideline for Exchanging Product Images and Attributes. Version 3.0, June 06, 2017.
  4. National Library of Medicine, NIH, HHS.SPLIMAGE File Specification. Version 3.02, March 2012.
  5. The European Directorate for the Quality of Medicines & HealthCare (EDQM). Standard term [Internet]. 2020 [cited 2020 Sep 15]. Available from: https://standardterms.edqm.eu/
  6. The International Health Terminology Standards Development Organisation (IHTSDO). SNOMED CT Browser [Internet]. 2020 [cited 2020 Sep 15]. Available from: https://browser.ihtsdotools.org/?