บัญชีข้อมูลยาและรหัสยามาตรฐานไทย

Thai Medicines Terminology

เกี่ยวกับ TMT

การพัฒนาบัญชีข้อมูลยาและรหัสยามาตรฐานของไทย (Thai Medicines Terminology – TMT)

รัฐบาลปัจจุบันมีนโยบายสำคัญที่จะพัฒนาระบบประกันสุขภาพภาครัฐให้เป็นเอกภาพ ประชาชนในทุกระบบหลักประกันสุขภาพได้รับสิทธิประโยชน์หลักเท่าเทียมกัน ในขณะเดียวกันรัฐก็ต้องควบคุมค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาลที่กำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยสามารถบริหารจัดการระบบการเงินการคลังสุขภาพในระยะยาว (Long term health financing) ให้มีประสิทธิภาพ สัดส่วนของค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาลที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็วเกิดจากการใช้ยาอย่างไม่เหมาะสมและฟุ่มเฟือยเกินความจำเป็น แต่รัฐไม่มีกลไกระบบข้อมูลสารสนเทศด้านยาในการกำกับ ติดตาม และตรวจสอบ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

     เนื่องจากยังไม่มีบัญชีข้อมูลยาและรหัสยามาตรฐานระดับประเทศที่สามารถตอบสนองระบบข้อมูลสารสนเทศด้านยาและการรักษาพยาบาล ได้หลายระบบงาน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลที่เกี่ยวข้องกับยาของกองทุนประกันสุขภาพของประเทศทั้ง 3 กองทุน คณะกรรมการกำหนดระบบบริหารยา เวชภัณฑ์ การเบิกจ่ายค่าตรวจวินิจฉัยและค่าบริการทางการแพทย์ที่มีรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธาน จึงให้มีการดำเนินการพัฒนาบัญชีข้อมูลยาและรหัสยามาตรฐานของไทย (Thai Medicines Terminology – TMT) เพื่อให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้บัญชีข้อมูลยาและรหัสยามาตรฐานเดียวกัน TMT พัฒนาโดย
อ้างอิงมาตรฐานสากล ที่เรียกว่า Systematized Nomenclature of Medicine–Clinical Terms (SNOMED-CT) มาปรับให้เข้ากับบริบทระบบยาของประเทศไทย

เหตุผลในการดำเนินการพัฒนาบัญชียาและรหัสยามาตรฐาน

สืบเนื่องจากนายกรัฐมนตรี (นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร) มีนโยบายพัฒนาระบบประกันสุขภาพภาครัฐให้เป็นเอกภาพ เพื่อให้ประชาชนที่อยู่ในทุกระบบหลักประกันสุขภาพของประเทศได้รับสิทธิประโยชน์หลักเท่าเทียมกัน และรัฐสามารถบริหารจัดการระบบการเงินการคลังสุขภาพในระยะยาว (Long term health financing) ภายใต้การใช้จ่ายงบประมาณที่เหมาะสม และในการประชุมเชิงนโยบายเรื่อง “การเหลื่อมล้ำระหว่าง 3 กองทุนประกันสุขภาพภาครัฐ”

     เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2555 ณ ทำเนียบรัฐบาล พณฯ นายกรัฐมนตรี ได้เห็นชอบตามข้อเสนอของกระทรวงการคลังเรื่องการพัฒนาระบบการเงินการคลังของระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ ที่เสนอให้มีการพัฒนาในประเด็นที่สำคัญ 6 ประการ หนึ่งในประเด็นที่ต้องได้รับการพัฒนาอย่างเร่งด่วนคือ การกำหนดรหัสยาและเครื่องมือแพทย์ให้เป็นมาตรฐาน สาหรับใช้ในการบริหารของทั้ง 3 กองทุนหลักประกันสุขภาพของประเทศ

     อนุสนธิจากการประชุมดังกล่าวที่อาคารกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2555 กระทรวงการคลังโดยกรมบัญชีกลางได้จัดให้มีการประชุมหารือร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา องค์การเภสัชกรรม สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำนักงานประกันสังคม สถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข สำนักสารสนเทศบริการสุขภาพ และศูนย์พัฒนากลุ่มโรคร่วมไทย มีข้อสรุปว่าการดำเนินการบริหารจัดการระบบการเงินการคลังสุขภาพในระยะยาวจะสามารถดำเนินการได้ และพบว่าปัญหาสำคัญเนื่องจากค่าใช้จ่ายจากการการใช้ยาอย่างฟุ่มเฟือยเกินความจำเป็นในระบบบริการสุขภาพของไทยเป็นประเด็นสำคัญที่ต้องได้รับการแก้ไข แต่ปัจจุบันรัฐยังไม่มีกลไกด้านข้อมูลสารสนเทศด้านยาที่ใช้ในการกำกับ ติดตามและตรวจสอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจัยสำคัญที่ทำให้กลไกด้านข้อมูลสารสนเทศด้านยาไม่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากประเทศไทยยังไม่มีระบบมาตรฐานบัญชีข้อมูลยาและมาตรฐานรหัสยา ที่ได้รับการยอมรับและใช้งานได้หลายงาน/หน้าที่ (functions) เช่น งานด้านบริหารสินค้าคงคลัง (drug inventory) การบริหารการเบิกจ่าย (healthcare service reimbursement) งานบริการทางคลินิก (Clinical care functions) ทั้งในระดับองค์กรและระดับประเทศ ในที่ประชุมจึงมีมติมอบหมายให้สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขไปจัดทำแนวทางการกำหนดระบบมาตรฐานบัญชีข้อมูลยาและรหัสยาของประเทศต่อไป

     และสืบเนื่องจากการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2555 ได้มีมติแต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดระบบบริหารยา เวชภัณฑ์ การเบิกจ่ายค่าตรวจวินิจฉัยและค่าบริการทางการแพทย์ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธาน อธิบดีกรมบัญชีกลางเป็นกรรมการและเลขานุการ เพื่อทำหน้าที่จัดทำข้อเสนอระบบบริหาร ระบบตรวจสอบ ติดตามในการเบิกจ่ายยา เวชภัณฑ์ การเบิกจ่ายค่าตรวจวินิจฉัยและค่าบริการทางการแพทย์ ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ และมอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำนักงานประกันสังคมและกรมบัญชีกลาง รับไปดำเนินการปฏิบัติต่อไป คณะกรรมการกำหนดระบบบริหารยา เวชภัณฑ์ การเบิกจ่ายค่าตรวจวินิจฉัยและค่าบริการทางการแพทย์ ได้มีการประชุมครั้งที่ 1/2555 เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2555 และได้มีมติเห็นชอบให้พัฒนาบัญชีข้อมูลยาและรหัสยามาตรฐานเพื่อใช้ในการบริหารจัดการระบบประกันสุขภาพของประเทศ โดยมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเป็นหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบการดำเนินงานเรื่องดังกล่าว ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แก่ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข และมหาวิทยาลัย ในรูปคณะอนุกรรมการ โดยให้ดำเนินการรูปแบบโครงการ มีการกำหนดเป้าหมาย แผน และระยะเวลาดำเนินการ ที่ชัดเจน และให้นำเสนอความก้าวหน้าให้คณะกรรมการฯ ทราบเป็นระยะ

     สาเหตุสำคัญที่ประเทศไทยยังไม่มีกลไกด้านข้อมูลสารสนเทศด้านยาที่ใช้ในการกำกับ ติดตามและตรวจสอบการสั่งใช้ได้อย่างประสิทธิภาพ เนื่องจากประเทศไทยยังไม่มีบัญชีข้อมูลยาและรหัสยามาตรฐานที่ได้รับการยอมรับจากทุกฝ่าย

สถานการณ์มาตรฐานบัญชีข้อมูลและรหัสยาของไทยในปัจจุบัน

ปัจจุบันบัญชีข้อมูลและรหัสยาที่ใช้ในสถานพยาบาลทั่วประเทศมีความหลากหลาย เนื่องจากเป็นการกำหนดกันเองในระดับท้องถิ่น (Local codes) ทำให้ไม่สามารถรวบรวมข้อมูลยาในระดับสูงกว่าสถานบริการ เพื่อมาใช้ในการบริหารจัดการเพื่อการเบิกจ่ายเพื่อการบริหารสินค้าคงคลัง เพื่อบริหารโลจีสติกส์ และไม่สามารถนำมาใช้ติดตามความปลอดภัยจากการใช้ยาในระดับบุคคลได้ที่ผ่านมามีคณะทำงานและหน่วยงานวิจัยและอย่างน้อย 2 กลุ่มที่ดำเนินการพัฒนารหัสยามาตรฐาน
ในไทย ได้แก่

ข้อจำกัดต่างๆ ของทั้งสองมาตรฐาน

การดําเนินการกําหนดบัญชีและรหัสยาให้เป็นมาตรฐานในปัจจุบัน

  หลายประเทศที่เป็นประเทศพัฒนาแล้ว (Developed countries) เช่น ประเทศอังกฤษ ประเทศออสเตรเลีย ประเทศนิวซีแลนด์ และฮ่องกง ประสพปัญหาเช่นเดียวกับที่ประเทศเรากำลังประสพอยู่คือปัญหาการบริหารจัดการระบบยาของประเทศ ปัญหาการความปลอดภัยของการใช้ยา (drug safety) ปัญหาความปลอดภัยในการรักษาพยาบาล (patient safety) ปัจจัยสำคัญประการหนึ่งของปัญหาดังกล่าวคือ การขาดมาตรฐานของระบบข้อมูลสุขภาพที่จะทำให้ระบบข้อมูลบริการต่างๆทางานร่วมกันได้ (health data interoperability) ทั้งนี้รวมถึงระบบข้อมูลบัญชีและรหัสยาที่ไม่เป็นมาตรฐานในระดับประเทศ

       ในระยะ 2-3 ปีที่ผ่านมา ประเทศต่างๆข้างต้นลงทุนด้วยเงินจำนวนมากในการพัฒนาระบบมาตรฐานข้อมูลบัญชีและรหัสยาของตนให้เป็นมาตรฐานที่สามารถใช้ได้ทั้งในประเทศและสามารถแลกเปลี่ยนกับประเทศต่างๆได้ ประเทศเหล่านี้ล้วนแต่เลือกที่จะพัฒนาระบบมาตรฐานข้อมูลบัญชีและรหัสยาของตนโดยใช้โครงสร้างรหัส (Controlled terminology data model) ที่อ้างอิงมาตรฐานสากลที่เรียกว่า Systematized Nomenclature of Medicine–Clinical Terms (SNOMED-CT) ของ International Health Terminology Standards Development Organization(IHTSDO) โดยนำมาปรับใช้ให้เข้ากับบัญชียาของประเทศตนที่มีบริบทเฉพาะ

      SNOMED-CT เป็นระบบมาตรฐานและฐานข้อมูลมาตรฐานข้อมูลสุขภาพขนาดใหญ่มาก ประเทศสามารถนำบางส่วนของระบบมาใช้ได้ สาหรับการพัฒนาระบบมาตรฐานข้อมูลบัญชีและรหัสยาสามารถเอาลำดับชั้น (Hierarchy) ที่เรียกว่า Pharmaceutical/Biological Product และ Substance Hierarchies มาพัฒนาต่อ (extension) ให้เหมาะสมกับประเทศเราโดยยังคงความสามารถในการแลกเปลี่ยนข้อมูลยากับนานาประเทศที่ใช้รหัสสากลนี้

       ขณะนี้คณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาและรหัสยามาตรฐานเพื่อสนับสนุนการบริหารเวชภัณฑ์ (มีเลขาธิการสำนักงานอาหารและยา (อย.) เป็นประธาน) ภายใต้คณะกรรมการกำหนดระบบบริหารยา เวชภัณฑ์ การเบิกจ่ายค่าตรวจวินิจฉัยและค่าบริการทางการแพทย์ กำลังอำนวยการให้มีการพัฒนาข้อมูลและรหัสยามาตรฐานของไทย (TMT) โดยได้แต่งตั้งคณะทำงานพัฒนาข้อมูลและรหัสยามาตรฐานของไทย (TMT) และมอบหมายให้สำนักพัฒนามาตรฐานระบบข้อมูลสุขภาพไทย (สมสท.) เครือสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ร่วมเป็นอนุกรรมการฯ และคณะทำงานฯ โดยมอบหมายให้ สมสท. เป็นแกนหลักทางวิชาการประสานงานกับนักวิชาการ ผู้ปฏิบัติงาน ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ดำเนินการศึกษา ออกแบบ ข้อมูลบัญชีและรหัสยามาตรฐานของไทย (TMT) รวมถึงกลไกต่างๆที่จำเป็น ได้แก่
                1) การปรับปรุงบัญชีข้อมูลยาและรหัสยาให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ
                2) การให้บริการข้อมูลบัญชีและรหัสยามาตรฐานกับผู้เกี่ยวข้อง ทั้งกองทุนประกันสุขภาพ โรงพยาบาล และประชาชน โดยมีกรอบการดำเนินงานตั้งแต่ปี 2555-2557 โดยในระยะแรก (ปีที่1) ให้สามารถมีบัญชียาและรหัสยามาตรฐานที่สามารถตอบสนองการกำกับติดตามค่าใช้จ่ายด้านยาจากระบบการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลของกองทุนสุขภาพทั้งสาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งกองทุนสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ

มาตรฐาน SNOMED-CT

จากคุณสมบัติของระบบรหัสและศัพท์ทางการแพทย์พบว่า มีมาตรฐานยาที่เป็นไปตามคุณสมบัติเหล่านั้นอยู่บ้างดังตัวอย่างในรูปข้างต้น และเมื่อดูจาก
การใช้งานและความแพร่หลายในนานาประเทศพบว่า มาตรฐาน SNOMED-CT เป็นมาตรฐานที่มีความเหมาะสมกับบริบทของประเทศไทยมากกว่ามาตรฐาน RxNorm

ประโยชน์ของการมีบัญชีข้อมูลและรหัสยามาตรฐาน

1. สามารถใช้งานได้หลายระบบงาน

1.1 ใช้ในระบบข้อมูลการบริหารจัดการ (administration) ด้านยา ควบคุมการใช้ยาให้เหมาะสมได้ทั้งในระดับประเทศ และระดับองค์กร (กองทุนประกันสุขภาพ,
โรงพยาบาล) เช่น การติดตามกำกับดูแลค่าใช้จ่ายด้านยา บริหารจัดการสินค้าคงคลัง (inventory) เป็นต้น

1.2 ใช้ในระบบข้อมูลการให้บริการของผู้ให้บริการ (Health Care Services) เช่น การสั่งยา (drug prescription) การจ่ายยา (drug dispensing) การบริหารยา
ให้กับผู้ป่วย (drug administration) ทำให้ระบบการบริการสุขภาพมีความปลอดภัยมากขึ้น

1.3 สนับสนุนการพัฒนาระบบข้อมูลเพื่อการตัดสินใจทั้งด้านบริหารจัดการ (Executive and Management Decision support) และระบบการตัดสินใจทางคลินิก (Clinical decision support)

1.4 ใช้ในระบบข้อมูลทางสาธารณสุข (Public Health) เช่น ระบบข้อมูลด้านระบาดวิทยาและการติดตาม/ประเมินการใช้ยา (drug utilization) ภาวะไม่พึงประสงค์
ที่เกิดจากยา (Adverse Drug Reaction-ADR) ภาวะดื้อยา (drug resistance)

1.5 ทำให้เกิดระบบระบบข้อมูลสุขภาพอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Health Records- EHR) ต่างระบบกัน ทั้งในประเทศและต่างประเทศทำงานร่วมกันได้ (Interoperability) สนับสนุนการแลกเปลี่ยนข้อมูลในระบบการส่งต่อผู้ป่วย (Referral system)

2. เพิ่ม Competitive advantage ให้กับประเทศไทยในการให้บริการสุขภาพระหว่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเป็นผู้นำในสมาคมอาเซียน (Asian Community) เนื่องจากสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลการใช้ยาของผู้ป่วยในประเทศพัฒนาแล้ว สนับสนุนการเป็น Medical Hub ในเอเชียแปซิฟิก

บัญชีข้อมูลยาและรหัสยามาตรฐานของไทย (Thai Medicines Terminology : TMT)

บัญชีข้อมูลยาและรหัสยามาตรฐานของไทย คือ บัญชีข้อมูลรายการยาที่มีใช้ในระบบบริการสุขภาพไทย ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลมาตรฐานด้านยา 3 ส่วน ดังนี้
          1) คำจำกัดความมาตรฐานของยาแต่ละตัว (Term/Name) ได้แก่ คำจำกัดความมาตรฐานที่เกี่ยวกับสารเคมีของตัวยา (substance), ชื่อสามัญ (Generic),
ชื่อการค้า (Trade name), dose form, strength, unit of measure, และ pack size
          2) รหัสที่ชี้เฉพาะ (Uniquely identify) ไปที่คำจำกัดความมาตรฐานของแต่ละมุมมอง (Concepts) ของยาแต่ละตัว
          3) ความสัมพันธ์ (Relationships) ระหว่างแต่ละมุมมอง (Concepts) ของยาแต่ละตัว ที่สามารถบ่งชี้ ถึงความสัมพันธ์ของ concept ต่างๆของยาแต่ละตัว
เช่น synonym concept, substance concept, trade product concept เป็นต้น

Dictionary ของ data Model ที่ใช้ในรหัสยามาตรฐาน TMT